วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่2

ยินดีต้อนรับเข้าสู่หน่วยที่2


ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 


ระบบและวิธีการเชิงระบบ
      ระบบ (System) หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อย ๆ อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงานสามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน
     วิธีการเชิงระบบ (System Approach) หมายถึง เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย

องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบ

     1. ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์ ปัญหา ความต้องการ ข้อกำหนด กฏเกณฑ์ อันเป็นตันเหตุของประเด็นปัญหา
     2. กระบวนการ (Process) คือ วิธีการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน การสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัยนำเข้าให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือความต้องการ
     3. ผลลัพธ์ (Output) คือ ผลงานที่ได้รับจากกระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้าผลงานที่ได้รับอาจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้ ซึ่งสามารถประเมินผลและตรวจสอบย้อนหลังได้


ระบบสารสนเทศ
        ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ การประมวลผลข้อมูล อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สูงสุด

องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ
        แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ระบบความคิด และ ระบบของเครื่องมือ

องค์ประกอบของสารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ในการแก้ปัญหามี 4 ประการ ได้แก่ ข้อมูล (Data)
สารสนเทศ (Information) ความรู้ (Knowledge) ปัญญา (Wisdom)

องค์ประกอบของสารสนเทศด้านขั้นตอน ในการดำเนินงานมี 3 ประการ คือ ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output)

องค์ประกอบระบบสารสนเทศทั่วไป ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ข้อมูล สารสนเทศ โปรแกรมหรือซอฟแวร์ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ
     ขั้นตอนที่ 1การวิเคราะห์ระบบ
     1.วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
     2. วิเคราะห์หน้าที่ เป็นการกำหนดหน้าที่ไว้ในแนวทางปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารสนเทศ
     3. วิเคราะห์งาน เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการกระทำ
     4. วิเคราะห์วิธีการและสื่อ เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติกลวิธีและสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายหรือสิ่งที่ต้องการ

     ขั้นตอนที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ
     1.การเลือกวิธีการหรือกลวิธีเพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทอลองกลวิธีเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้
     2.ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเลือกกลวิธีที่แหมาะสมที่วางแผนแล้วก่อนใช้กลวิธีนั้นดำเนินการแก้ปัญหา
     3.ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน

     ขั้นตอนที่ 3 การสร้างแบบจำลอง
     เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น หรือรูปสามมิติ แบบจำลองระบบทำให้เข้าใจโครงสร้าง
ประเภทของระบบสารสนเทศ


ประเภทของระบบสารสนเทศ มี 3 ระดับคือ
 -ระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ
 -ระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน
 -ระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม
ข้อมูลสารสนเทศ
     ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริง ที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯ ล ฯ ข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยต้อง มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
สารสนเทศ(Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยวิธีที่เหมาะสมและตามความต้องการใช้งานรวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว การรวบรวมข้อมูลนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์กันก่อนว่าต้องการเก็บข้อมูลไปเพื่อทำอะไร ต้องการสารสนเทศใดบ้าง เพราะในความเป็นจริงข้อมูลจะมีปริมาณมาก เช่น ข้อมูลของนักเรียนคนหนึ่งที่โรงเรียนจัดเก็บจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ บ้านเลขที่ ชื่อผู้ปกครอง บิดา มารดา ข้อมูลที่บันทึกไว้นี้ไม่อาจทำให้รู้จักและเข้าใจนักเรียนผู้นี้ได้อย่างถ่องแท้ เพราะมีข้อมูลอย่างอื่นของนักเรียนที่ไม่ได้บันทึกไว้อีกมากมายเช่น สีผม สีตา ตำหนิ ความสูง น้ำหนัก วิชาที่ชอบ ฯลฯ ดังนั้นเราต้องทราบก่อนว่าต้องการนำข้อมูลไปทำอะไร เช่น ถ้าต้องการทราบข้อมูลที่จะแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของนักเรียน ก็คงต้องเก็บข้อมูล ความสูง น้ำหนัก ของนักเรียนไว้
  เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลแล้ว ถ้ามีการนำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล จัดระบบให้อยู่ในรูปแบบที่เรียกใช้งานได้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์  สิ่งที่ได้คือสารสนเทศ  สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี ถ้าข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง สารสนเทศที่ได้ก็ย่อมไม่ถูกต้องไปด้วยเช่นกันตัวอย่างเช่น ถ้านักเรียนต้องการทราบว่านักเรียนในโรงเรียนข้อเรามีจำนวนทั้งหมดกี่คน แล้วนักเรียนไปนำใบรายชื่อนักเรียนมานับจำนวน แล้วสรุปรวมเป็นสารสนเทศ โดยไม่ได้ตรวจสอบก่อนว่ามีนักเรียนคนใดลาออกไปหรือไม่ สารสนเทศที่ได้ก็จะไม่ใช้จำนวนนักเรียนที่แท้จริงหรือ ระบบงานห้องสมุดโรงเรียน ข้อมูลที่ต้องจัดรวบรวมคือข้อมูลหนังสือในห้องสมุด ซึ่งประกอบไปด้วย ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ รหัสดิวอี้ สารบัญหนังสือ เป็นต้น ข้อมูลสมาชิกซึ่งก็คือครูและนักเรียน ข้อมูลโสตวัสดุ ข้อมูลการยืมคืนของสมาชิก  เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลแล้ว ก็จะต้องมีการประมวลผลข้อมูล เช่นจัดเรียงรายการหนังสือตามชื่อ ตามเลขทะเบียนหนังสือ ตามผู้แต่ง เพื่อให้สะดวกในการค้นหา หรือจัดทำสถิติต่างๆ